nongwa
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

หลักการฝึกอบรมและการประชุม

2 posters

Go down

หลักการฝึกอบรมและการประชุม Empty หลักการฝึกอบรมและการประชุม

ตั้งหัวข้อ  s-hatcore Mon Jun 08, 2009 6:05 pm

สอนโดย พระครูสมุห์คำภีร์ ภูริสีโล Very Happy

s-hatcore

จำนวนข้อความ : 32
Join date : 18/05/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

หลักการฝึกอบรมและการประชุม Empty ทักษะการใช้ภาษาไทย

ตั้งหัวข้อ  peeoen Thu Sep 10, 2009 8:32 pm

ภาษากับการสื่อสาร
การฟังเพื่อการสื่อสาร
มนุษย์เราเกิดมาก็มีการสื่อสารกันแล้ว คือ การสื่อสารกันระหว่างแม่กับลูกนั้นก็คือเมื่อลูกร้องก็จะเป็นสัญญาณให้แม่รู้ว่าลูกหิว ก็จะรีบป้อนนมให้ลูกกินทันที นี้ก็ถือว่าเป็นการสื่อสารเพราะลูกยังพูดให้เป็นประโยคไม่ได้จึงใช้วิธีการร้องแต่ก็ทำให้แม่รู้และเข้าใจได้
จะเห็นได้ว่าการฟังจึงเป็นการสื่อสารในเบื้องต้น
ลักษณะผู้ฟังที่ดี
๑. มีมารยาทในการฟังเป็นอย่างดี
๒. ใช้วิจารณญาณในการฟัง
๓. สนับสนุนสิ่งที่ควรสนับสนุนเท่านั้น
ขบวนการโต้วาที
๑. ประธานกล่าวนำ
๒. หัวหน้าฝ่ายเสนอพูด
ก. เป็นผู้นิยามญัตตินั้น
ข. ตั้งประเด็นที่จะพูด
ค. อภิปราย
ง. สรุป
๓. หัวหน้าฝ่ายค้านพูดเป็นอันดับต่อมา
๔. ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านขึ้นพูดทีละคน
๕. หัวหน้าฝ่ายค้านสรุปก่อน
๖. หัวหน้าฝ่ายเสนอ เป็นผู้สรุปสุดท้าย
๗. ประธานเป็นผู้ตัดสิน

การประชุม
คือ การที่บุคคลกลุ่มหนึ่งมาพบกันด้วยจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง
ความมุ่งหมายของการประชุม
การประชุมอาจมีความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
๑. เพื่อแถลงข่าวและเรื่องราวต่าง ๆ
๒. เพื่อปรึกษาหารือ ขอคำแนะนำ และความคิดเห็น
๓. เพื่อดำเนินงานและประสานงาน
๔. เพื่อให้การศึกษา
๕. เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
๖. เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกเกิดความรู้สึกและทัศนคติใหม่ ๆ
ประโยชน์ของการประชุม
๑. เป็นการแบ่งความรับผิดชอบได้ดีที่สุด
๒. เป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการติต่องาน
๓. ช่วยให้มีการตัดสินใจได้รอบคอบ
๔. อาจใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อผัดผ่อนหรือถ่วงปัญหา
๕๔


๕. ช่วยในการประสานงานได้ดี
๖. เป็นการช่วยให้บุคคลที่เข้าประชุมได้ฟังความคิดของบุคคลอื่น
๗. ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมแรงร่วมใจ
๘. เป็นโอกาสสังสรรค์และแลกเปลี่ยนความคิด
สำนวนที่ใช้ในที่ประชุม
- องค์ประชุม
- ญัตติ
- มติ
- อภิปราย
- ผู้เข้าร่วมประชุม
ผู้ดำเนินการประชุม
- ประธาน
- รองประธาน
- เลขานุการ
- ผู้เข้าร่วมประชุม


หน้าที่ของผู้เข้าร่วมประชุม
ประธาน
๑. ประธานต้องรอบรู้ในเรื่องที่ประชุม
๒. เรียกประชุม
๓. เตรียมการประชุมล่วงหน้า
๔. ประธานมีอำนาจสั่งพักการประชุมชั่วคราว
รองประธาน ทำหน้าที่ต่อเมื่อประธานไม่อยู่
เลขานุการ
๑. ส่งจดหมายเชิญประชุม
๒. เตรียมสถานที่ สมุดลงนาม ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ
๓. บันทึกการประชุมในขณะที่ประชุม
๔. ส่งบันทึกการประชุม และเชิญประชุมครั้งต่อไป
๕. ติดตามเรื่องต่าง ๆ ตามมติที่ประชุม


๕๕


ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. อ่านจดหมายเชิญให้ละเอียดเพราะระเบียบวาระ
๒. ถ้ามีเหตุขัดข้อง แจ้งให้เลขานุการทราบล่วงหน้า
๓. แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับการประชุม
๔. รักษามารยาทในที่ประชุมอย่างเคร่งครัด
ขบวนการในที่ประชุม
ก่อนประชุม
๑. เลขานุการส่งจดหมายเชิญประชุมพร้อมวาระระเบียบ
๒. เตรียมสถานที่ สมุดลงนาม
๓. เมื่อถึงเวลาที่กำหนดแจ้งให้ประธานทราบ
ขณะประชุม
๑. ประธานเป็นผู้กล่าวเปิดประชุม
๒. ดำเนินการประชุมตามระเบียนวาระ
๓. เลขานุการบันทึกการประชุม
หลังประชุม
๑. เลขานุการตรวจดูรายงานการประชุมให้เรียบร้อย
๒. ถ้ามติที่ประชุมให้ผู้ใดทำเรื่องอะไร ให้เลขานุการติตามผล
วิธีการดำเนินการประชุม
๑. ประธานเป็นผู้ดำเนินการประชุม
๒. ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น
๓. ถ้ามีผู้เสนอญัตติ ประธานเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมอภิปราย
๔. ถ้ามีความชี้ขาด ให้ประธานเป็นผู้ตัดสิน
๕. การประชุมบางครั้งอาจมีการลงมติ ทำได้สองวิธี
๕.๑ ลงคะแนนโดยเปิดเผย
๕.๒ ลงคะแนนลับ
๖. ประธานดำเนินการประชุมตามระเบียบ
๗. ประธานต้องมรไหวพริบในการเข้าสู่ประเด็น




๕๖


แบบต่าง ๆ ของการประชุม
- การประชุมปรึกษา (Conference)
คือการประชุมเพื่อปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าประชุม ซึ่งมักเป็นตัวแทนขององค์การต่าง ๆ มี่วัตถุประสงค์เพื่อที่จะวางหลักการ เพื่อให้เป็นภาคีของที่ประชุมนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติต่อไป
- การประชุมมีกำหนด (Convantion)
คือการประชุมของบุคคลในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ซึ่งกำหนดเวลาการประชุมแน่นอนเป็นการประจำ เช่น ประชุมครบรอบ ๑ ปี หรือ ๖ เดือน สถานที่ประชุมนั้นอาจย้ายไปประชุมที่ไหนก็ได้ การประชุมแบบนี้มักเป็นการประชุมเกี่ยวกับการบริหารงานร่วมกัน หรือรับรู้สิ่งที่ไปปฏิบัติแล้ว เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
- การประชุมสัมมนา (Seminar)
คือการประชุมตามข้อที่ได้กำหนดไว้ มีการอภิปรายกันอย่างเสรี ในระหว่างผู้ร่วมประชุม ซึ่งเป็นผู้ประสบปัญหาร่วมกัน การประชุมแบบนี้ส่วนมากจะแยกประชุมเป็นกลุ่มย่อยตามหัวข้อก่อน กลุ่มย่อยใช้การประชุมแบบคณะอภิปราย
- การประชุมคณะอภิปราย หรือการประชุมแบบแผง (Panel)
คือการประชุม ที่บุคคลคณะหนึ่งจัดให้มีขึ้น ด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และได้นำปัญหาและปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นขึ้นมากล่าวให้เป็นประเด็นที่จะช่วยกันแสดงความคิดเห็นหรือช่วยกันขบปัญหานั้น

- การประชุมแลกความรู้ (Symposium)
คือการประชุมแลกความรู้มีวิธีดำเนินการประชุมคล้ายคลึงกับการประชุมคณะอภิปราย ต่างกันแต่ว่าในการประชุมแลกความรู้นั้นผู้อภิปรายแต่ละคนเตรียมหาความรู้เฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของเรื่องที่จะอภิปรายอย่างละเอียด ผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้เชื่อมเรื่องแต่ละตอนต่อเนื่องประสานกัน
- การประชุมปฏิบัติงาน (Work Shop)
คือการประชุมซึ่งสถาบันจัดให้มีขึ้นและได้อำนวยความสะดวกในด้าน วัสดุ อุปกรณ์การศึกษา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ศึกษาปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ และให้ได้ร่วมปฏิบัติการให้ได้ผลตามที่กำหนดไว้



๕๗


- การประชุมแบบโต้แย้ง (Debate)
คือการประชุมโต้เถียงกันอย่างมีระเบียบตามหัวข้อที่กำหนด มีผู้เสนอฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายค้านฝ่ายหต้องรักษามารยาทในการพูดและการฟังเป็นอย่างดีในขณะประชุม การตั้งคำถามควรจะได้ถือหลักดังได้กล่าวมาแล้ว




*********************
การฟัง
ความสำคัญของการฟัง
การฟังที่ดีย่อมทำให้เกิดสติปัญญา ปัญญาย่อมเป็นแสงสว่างส่องทางชีวิตดังพระพุทธวจนะที่ว่า
“สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ”
ฟังด้วยดีย่อมเกิดปัญญา
“นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา”
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
การฟังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา เกิดความรู้เฉลียวฉลาด ในสมัยโบราณเมื่อยังไม่มีการพิมพ์หนังสือ “การฟัง” เป็นจุดเริ่มต้นที่จะก่อให้เกิดปัญญา “หัวใจนักปราชญ์” ข้อแรกก็คือการฟัง แต่การฟังก็ควรจะปฏิบัติเช่นไรนั้นก็ย่อมมีวิธีการ ผู้ที่หมั่นสดับตรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ จะเป็นผู้รอบรู้ สามารถนำสิ่งที่ได้ฟังไปใช้ประโยชน์ทั้งในด้านความรู้ การตัดสินใจ ความริเริ่ม สมัยนี้บางคนอาจจะว่าการอ่านหนังสือก็ทำให้ฉลาด แต่การฟังมีส่วนประกอบที่ช่วยให้ได้เปรียบการอ่านอยู่หลายอย่างดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องของการพูดซึ่งเป็นสื่อส่งของการฟังเป็นสื่อรับ การฟังมีอิทธิพลสำคัญมากในปัจจุบัน แต่ส่วนมายังมองข้ามความสำคัญของ “การฟัง” มุ่งแต่จะฝึกศิลปะในการพูด แต่ความจริงศิลปะแห่งการฟังก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าศิลปะของการพูด และเป็นศิลปะที่ฝึกได้ยาก
๕๘



การฟังเป็นส่วนสำคัญของการพูด
การพูดและการฟัง เป็นลักษณะประกอบกัน การฟังเป็นส่วนสำคัญที่จะให้การพูดได้ผลสมบูรณ์
๑. การพูดที่ไม่มีการฟัง ไม่ถือว่าเป็นการพูด
๒. การพูดที่ผู้ฟังแล้วไม่เข้าใจตรงจุดหมาย ถือว่าเป็นการพูดที่ไม่สมบูรณ์
๓. ผู้ฟังมีอิทธิพลต่อผู้พูด ผู้ฟังที่ดีจะช่วยให้ผู้พูดไปถึงจุดหมาย
๔. ผู้พูดที่ดีต้องฟังเสมอ
๕. ผู้พูดที่ดีต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย
การพูด การฟัง ต่างก็เป็นพฤติกรรมที่จะต้องฝึกฝนให้เกิดการเรียนรู้ การฟังจึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญ และจะต้องฝึกฝนเท่า ๆ กับการพูด

การฟังที่ดี
๑. ฟังด้วยความตั้งใจ หรือมีสมาธิในการฟัง
การฟังที่ดีต้องสะลัดความกังวลอื่น ๆ ให้พ้นไปจากจิตใจของผู้ฟัง ปล่อยจิตใจให้คำพูดของผู้ที่เราฟังเข้ามาสู่ตัวเรา
๒. พึงฟังในสิ่งที่ควรฟัง
ผู้ฟังต้องรู้จักเลือกสิ่งจะฟังว่าเรื่องอะไรควรจะฟัง เรื่องอะไรไม่ควรฟัง เราจะฟังอะไรก็ฟังได้ แต่เราต้องคิดว่าที่เราจะฟังนั้นควรค่าแก่การฟังหรือไม่ มีเนื้อหาสาระและประโยชน์มากเพียงไร
๓. ฟังโดยไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์
การตกเป็นทาสของอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อตกเป็นทาสของอารมณ์แล้ว จะทำให้เป็นผู้ที่ไร้เหตุผล การฟังโดยใช้อารมณ์ของตนเป็นที่ตั้ง ก่อให้เกิดความทุกข์แก่ตนเอง
๔. ฟังตามจุดประสงค์ของผู้ฟัง
๔.๑ เพื่อความเพลิดเพลิน
๔.๒ เพื่อเก็บสาระสำคัญ
๔.๓ เพื่อให้ได้รายละเอียด
๔.๔ เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น
๕. ใช้วิจารณญาณในการฟัง
ผู้ฟังเมื่อฟังแล้วควรนำไปไตร่ตรอง ถ้าไม่เข้าใจแจ่มแจ้งก็ต้องไต่ถาม หรือค้นคว้าเพื่อหาข้อเท็จจริง ไม่เชื่อสิ่งใดโดยไม่มีเหตุผล
๖. นำสิ่งที่รับฟังนั้นมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

๕๙


ผู้ฟังควรพยายามนำสิ่งที่ได้ฟังมาสัมพันธ์ มาผูกกับชีวิตส่วนตัว กับอาชีพการงาน ตั้งปัญหาถามตัวเองว่า สิ่งที่ได้ฟังมานั้นจะมีประโยชน์แก่ตนในทางใด ควรจะปฏิบัติตัวในทางไหน
๗. ใช้ศิลปะในการฟัง
ผู้ฟังมีศิลปะของการฟัง ต้องไม่ฟังแต่อย่างเดียว แต่สามารถใช้ไหวพริบในบางโอกาสช่วยให้ผู้พูดได้ไปสู่จุดหมายปลายทางตามต้องการ
ศิลปะการฟังคืออะไร
ในที่นี้จะขอคัดตัดตอนเรื่อง “ศิลปะแห่งการฟัง” “กุศโลบาย”
ของ พล.ต. หลวงวิจิตรวาทการ ดังต่อไปนี้
ตอนที่ ๑
การพูดเป็นศิลปะอันหนึ่ง เรียกว่าวาทศิลป์ ซึ่งเรารู้จักกันมากแล้ว ดูเหมือนเราจะยังไม่ทราบกันทั่วไปว่า การฟังก็เป็นศิลปะอันหนึ่ง ซึ่งถึงแม้จะไม่มีชื่อเป็นพิเศษอะไรที่จะเรียกกันให้ไพเราะอย่างวาทศิลป์ก็ดี ศิลปะของการฟังก็เท่า ๆ กับศิลปะแห่งการพูด และมีตัวอย่างหลายเรื่องที่แสดงให้เห็นว่าศิลปะแห่งการฟังนั้น ถ้าเราใช้ดีก็จะได้ผลไม้กว่าศิลปะแห่งการพูด
การพูดดีอาจเป็นเครื่องจูใจให้คนนิยมและบันดาลผลสำเร็จให้มาก แต้พูดมากเกินไป พูดเสียคนเดียว พูดถึงเรื่องของตัวเองจะเหตุแห่งความเบื่อหน่าย ส่วนศิลปะแห่งการฟังนั้น ไม่มีทางที่จะให้เกิดผลร้ายแต่อย่างไร แต่ “ศิลปะแห่งการฟัง” นั้น ไม่ได้หมายถึงการที่นิ่งนั่งปล่อยให้คนอื่นพูดฝ่ายเดียวแล้วก็ฟังเหมือนฟังเทศน์ การทำเช่นนั้นง่ายเกินกว่าที่จะนับว่าเป็นศิลปะ ศิลปะแห่งการฟังหมายถึง
๑. ความสามารถที่จะจูงผู้ให้หันเหเข้าไปหาเรื่องที่เขาถนัดที่สุด แล้วแสดงให้เขาเห็นว่าตนฟังคำของเขาด้วยความตั้งใจ อยากรู้อยากฟังจริง ๆ
๒. รู้จักสอดคำถามในโอกาสที่เหมาะ
๓. รู้จักปล่อยให้ผู้พูดพูดจนสิ้นกระแสความ
๔. รู้จักช่วยผู้พูดที่กำลังจะหมดเรื่องพูดให้มีเรื่องกับขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เขาพูดได้ต่อไป แล้วก็ฟังด้วยความตั้งใจ หรือแสดงให้เขาเห็นว่าตั้งใจ
นี้และคือศิลปะแห่งการฟัง ศิลปะผิดกับวิทยา วิทยามักมีกฎเกณฑ์หลักวิชา
การฝึกการฟัง
การฝึกการฟังในปัจจุบันนี้มีที่จะไปฟังมากมายเพราะได้มีการบรรยายและการอภิปรายในเรื่องต่าง ๆ อยู่เนือง ๆ แม้แต่ในรัฐสภาก็เข้าฟังได้ ผู้ที่หมั่นไปฟังเสมอจะติดใจและอยากไปอีก การตั้งต้นออกจะยากแต่ถ้าลงมือทำแล้วจะไม่รู้สึกอะไร การฟังนออกจากจะได้ความรู้แล้วยังได้รับความเพลิดเพลินและได้พบปะสังสรรค์กับผู้อื่นการฟังจำเป็นต้องฝึกเช่นเดียวกันกับการพูด การฟังเป็น
๖๐

ศิลปะที่นับว่ายาก ต้องฝึกให้ผู้ฟังเป็น จึงจะได้ผลเท่าที่ควร และข้อสำคัญคือเป็นเครื่องส่งเสริมให้เป็นนักพูดที่ดี
สิ่งที่จะทำให้การฟังไม่ได้ผล
๑. ตัวผู้ฟัง
๑.๑ มีความโน้มเอียงเข้ากับตัวเอง มีอคติ แปลเรื่องตามความสนใจ ต่อเติมเรื่อง หรือการทำเรื่องให้สั้นเข้า
๑.๒ ขาดความสังเกต ความสนใจ
๑.๓ มีความรู้ไม่ถึง
๑.๔ ขาดศรัทธาในตัวผู้พูดหรือเรื่องที่พูดหรือฟังเพราะถูกบังคับ
๒. สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนสำคัญที่จะทำลายสมาธิในการฟัง เช่น อากาศ สถานที่ เวลาฯ
๓. ลักษณะของคำไม่คง ทำให้ลืมง่าย
๔. การใช้ภาษาถ้าไม่ระมัดระวังทำให้มีความเข้าใจคนละอย่าง
๕. ตัวผู้พูด ลีลาการพูด การใช้เสียง อากัปกิริยา ไม่ชวนฟัง
มรรยาทในการฟังซึ่งควรระมัดระวังอย่างเคร่งครัด
๑. ฟังด้วยความสนใจ
๒. รู้จักแทรกคำถามในบางโอกาส
๓. ถ้าเป็นการฟังในที่ประชุมชน
๓.๑ ไม่ควรคุยหรือซุบซิบกัน
๓.๒ นั่งฟังอย่างเรียบร้อย
๓.๓ ไม่ลุกออกไปจากห้อง
ผลเสียของการฟังไม่เป็น
การฟังโดยไม่ใช้หลักดังกล่าว อาจจะทำให้เกิดผลเสียทั้งส่วนตัวและส่วนรวมถึงประเทศชาติ กล่าวโดยสรุปโดยคือ
๑. ไม่ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์เท่าที่ควร หากไม่มีสมาธิในการฟัง ไม่รู้จักนำสิ่งที่ฟังไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตน
๒. อาจเกิดผลเสียหายต่อตนและส่วนร่วม เมื่อไม่ได้ใช้วิจารณญาณถึงเหตุถึงผลพิจารณาให้รอบครอบ หลงเชื่อคำผู้พูดที่ผู้พูดใช้ศิลปะ ดังเช่นมีผู้ที่กล่าวว่า “คนไทยเป็นทาสของการโฆษณา” ทำให้เสียทรัพย์โดยไม่สมควร กระทบกระเทือนตนเองและเศรษฐกิจชองชาติ การเชื่อข่าวลือก็เป็นอันตรายอย่างยิ่ง
๓. อาจเกิดผลเสียหายอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ ถ้าฟังโดยตกเป็นทาสของอารมณ์ ดังจะเห็นได้ว่าจากประวัติศาสตร์ที่เกิดผลเสียแก่บ้านเมืองหลายครั้งหลายครา

peeoen

จำนวนข้อความ : 5
Join date : 17/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ