nongwa
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

วิชา การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน

2 posters

Go down

วิชา การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน Empty วิชา การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน

ตั้งหัวข้อ  s-hatcore Mon Jun 08, 2009 6:06 pm

สอนโดย อาจารย์รังสิมา บำเพ็ญบุญ Neutral

s-hatcore

จำนวนข้อความ : 32
Join date : 18/05/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิชา การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน Empty รายงาน

ตั้งหัวข้อ  peeoen Wed Aug 19, 2009 6:11 pm

sunny

peeoen

จำนวนข้อความ : 5
Join date : 17/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิชา การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน Empty แนวข้อสอบ เขียนโดยสัญชัย

ตั้งหัวข้อ  s-hatcore Thu Sep 10, 2009 2:48 pm

แนวข้อสอบ อ.พนิดา


ประสิทธิผล กิบสันและคณะกล่าวว่า เป็นเรื่องของการกระทำใดๆ หรือความพยายามใดๆ ที่มีความมุ่งหมายอยากจะได้รับผลอะไรซักอย่างให้เกิดขึ้น การกระทำหรือความพยายามจะมีประสิทธิผลสูงต่ำเพียงใดขึ้นกับว่าผลที่ได้รับนั้น ตรง ครบถ้วน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และใช้พลังงานน้อยเพียงใด
ประสิทธิผลอาจพิจารณาเป็น ๒ ระดับคือ
๑. ประสิทธิผลของบุคคล คือลักษณะของบุคคลที่มีความสามารถปฏิบัติงานใดๆหรือปฏิบัติกิจการใดๆแล้วประสบผลสำเร็จทำให้บังเกิดผลตรงและครบถ้วนตามที่มีวัตถุประสงค์ไว้
๒. ประสิทธิผลขององค์กร คือเน้นไปที่ผลรวมขององค์การ
ประสิทธภาพ เป็นเรื่องการใช้ปัจจัยและกระบวนการในการดำเนินงานโดยมีผลผลิตที่ได้รับเป็นตัวกำกับการแสดงประสิทธิภาพของการดำเนินงานใดๆ อาจแสดงค่าประสิทธิภาพในลักษณะการเปรียบเทียบ
เอกชน การวางแผนด้านการเงิน แสวงหาทางเลือกที่ดีกว่าในการควบคุมการดำเนินงานของกิจการโดยใช้เครื่องมือทางการเงินและงบประมาณประจำปี
การคาดการณ์อนาคตการแสวงหาทางเลือกในการวางแผนเพื่อสร้างความเจริญเติมโตที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยการคาดการณ์อนาคตที่ยาวไกลกว่า หนึ่งปี
กาพิจารณาสถานการณ์ภายนอก แสวงแนวทางเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตลาด และโต้ตอบกับการแข่งขัน ด้วยวิธีคิดในเชิงกลยุทธ์มากยิ่งขึ้น
การจัดการเชิงกลยุทธ์ แสวงหาแนวทางในการจัดการทรัพยากรทั้งหลายของกิจการเพื่อพัฒนาความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขันและเพื่อให้กิจการประสบผลสำเร็จอย่างถาวร
ภาครัฐ จอห์น เอ็ม ไบรสัน มีความเห็นว่าการวางแผนกลยุทธ์ในองค์กรภาครัฐมีผลอย่างสำคัญในการตัดสินใจและจัดการด้านปฏิบัติของนักบริหารรัฐกิจ ด้วยการระบุว่าให้เห็นว่าในอันที่จะเสนอบริการสาธารณะที่ได้ผลมากที่สุด นักบริหารรัฐกิจจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้าน พัฒนาและสำรวจทางเลือกในเชิงกลยุทธ์ และวางแนวทางการดำเนินงานในอนาคต
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 7s
๑. กลยุทธ์
๒. โคงสร้าง
๓. ระบบ
๔. วิถีปฏิบัติ
๕. บุคลากร
๖. ทักษะ
๗. ค่านิยมร่วม

การทำงานเป็นทีม ปัจจุบันการทำงานเป็นคณะหรือการทำงานเป็นทีมมีความจำเป็นมากเพราะงานในปัจจุบันมีความยุ่งยากซับซ้อนมากและมีปริมาณมาก ผู้รับรับบริการมีจำนวนมหาศาล และเป็นผู้บริโภคที่มีความรู้และมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด เครื่องมือและเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและยุ่งยากมากยึ่งขึ้น มีคู่แข่งขันมากขึ้นทุกที การทำงานคนเดียวหรือบริหารงานคนเดียวยากที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้
กลยุทธ์7p
๑. กลยุทธ์คือแผน กิจการทั้งหลายกำหนดกลยุทธ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางหรือเป็นแนวทางการดำเนินงานในอนาคต
๒. กลยุทธ์คือแบบแผนหรือรูปแบบ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแบบแผนด้านพฤติกรรมในการปฏิบัติที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงเวลา
๓. กลยุทธ์คือการกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง เน้นไปที่ความสำคัญของฐานะหรือตำแหน่งของกิจการในสนามการแข่งขัน ดังนั้น สินค้าหรือบริการที่เสนอออกไป จำเป็นต้องเหมาะสมกับบความต้องการของลูกค้าแต่ละตลาด
๔. กลยุทธ์คือทัศนภาพ เน้นความสำคัญของการพิจารณาสภาพที่แท้จิงภายในองค์การ หรือคุณลักษณะ ที่น่าจะเป็นองค์การ กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ ทัศนภาพหมายถึงวิธีการดำเนินงานที่ต้องการให้คนในองการณ์ยึดถือร่วมกัน
๕. กลยุทธ์คือกลวิธีในการเดินหมาก เปนความหมายที่เฉพาะเจาะจงเป็นอย่างยิ่งกล่าวคือในสถานการณ์ที่มีการณืต่อสู้หรือการแข่งขัน

s-hatcore

จำนวนข้อความ : 32
Join date : 18/05/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิชา การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน Empty แนวข้อสอบปลายภาค

ตั้งหัวข้อ  peeoen Mon Sep 14, 2009 3:20 pm

แนวข้อสอบ อ.พนิดา
ประสิทธิผล กิ๊บสันและคณะกล่าวว่า เป็นเรื่องของการกระทำใดๆ หรือความพยายามใดๆ ที่มีความมุ่งหมายอยากจะได้รับผลอะไรซักอย่างให้เกิดขึ้น การกระทำหรือความพยายามจะมีประสิทธิผล สูงต่ำเพียงใดขึ้นกับว่าผลที่ได้รับนั้น ตรง ครบถ้วน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และใช้พลังงานน้อยเพียงใด
ประสิทธิผลอาจพิจารณาเป็น ๒ ระดับคือ
๑. ประสิทธิผลของบุคคล คือลักษณะของบุคคลที่มีความสามารถปฏิบัติงานใดๆหรือปฏิบัติกิจการใดๆ แล้วประสบผลสำเร็จทำให้บังเกิดผลตรงและครบถ้วนตามที่มีวัตถุประสงค์ไว้ ผลที่เกิดขึ้นมีลักษณะคุณภาพ เช่นความถูกต้อง ความมีคุณค่า ความเหมาะสมดีงาม ตรงกับความคาดหวังและความต้องการของหมู่คณะ สังคม และผู้ที่จะนำผลนั้นไปใช้เป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ คือ เป็นการปฏิบัติด้วยความพอใจ ปฏิบัติเต็มความสามารถ ปฏิบัติด้วยการเลือกสรรกลวิธีและเทคนิควิธีการ ที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้บรรลุผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ อย่างสูงสุดแต่ใช้ทุน ทรัพยากรและระยะเวลาน้อยที่สุด
๒. ประสิทธิผลขององค์การ คือเน้นไปที่ผลรวมขององค์การ ซึ่งกิ๊บสันและคณะได้อธิบายถึงเกณฑ์ของความมีประสิทธิผลขององค์การว่าประกอบด้วยตัวบ่งชี้ ๕ ตัว คือ
๑. การผลิต องค์การมีประสิทธิผล ถ้าองค์การสามารถดำเนินการผลิตให้ได้ผลผลิตทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้ตรงกับความต้องการขององค์การ
๒. ประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพ องค์การมีประสิทธิผลถ้าอัตราส่วนระหว่างปัจจัยทรัพยากร ที่ใช้กับผลผลิตมีความเหมาะสมในลักษณะที่ใช้ปัจจัยทรัพยากรที่คุ้มค่า
๓. ความพึงพอใจ องค์การมีประสิทธิผลถ้าการดำเนินงานขององค์การนำมาซึ่งความสำเร็จสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของสมาชิกในองค์การ
๔. การปรับเปลี่ยน องค์การมีประสิทธิผลถ้าองค์การมีกลไกที่สามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินงานได้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ
๕. การพัฒนา องค์การมีประสิทธิผลถ้าองค์การสามารถเพิ่มพูนศักยภาพ และวิสัยสามารถขององค์การให้เจริญหน้าตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
ประสิทธิภาพ กิ๊บสันและคณะ ให้ความหมายของประสิทธิภาพว่าโดยทั่ว ๆ ไปเมื่อพูดถึงประสิทธิภาพก็จะหมายถึงอัตราส่วน ของผลผลิตต่อปัจจัยการวัดประสิทธิภาพจะวัดตัวบ่งชี้หลายตัวประกอบด้วยกัน เช่น
๑) อัตราการได้ผลตอบแทนในเงินลงทุนหรือทรัพย์สินที่เป็นทุน
๒) ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิต
๓) อัตราการสูญเปล่าสิ้นเปลืองการใช้ทรัพยากร
๔) อัตราส่วนของผลกำไรต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน
ประสิทธิภาพ เป็นเรื่องการใช้ปัจจัยและกระบวนการในการดำเนินงานโดยมีผลผลิตที่ได้รับเป็นตัวกำกับการแสดงประสิทธิภาพของการดำเนินงานใดๆ อาจแสดงค่าของประสิทธิภาพในลักษณะการเปรียบเทียบ ระหว่างค่าใช้จ่ายในการลงทุนกับผลกำไรที่ได้รับ ซึ่งถ้าผลกำไรมีสูงกว่าต้นทุนเท่าไรก็ยิ่งแสดงถึงประสิทธิภาพมากขึ้น

ประสิทธิภาพมี ๒ ระดับ
(๑) ประสิทธิภาพของบุคคล
(๒) ประสิทธิภาพขององค์การ
ประสิทธิภาพบุคคล การมีประสิทธิภาพหมายความว่า การทำงานเสร็จโดยสูญเสียเวลาและพลังน้อยที่สุด ค่านิยมการทำงานที่ยึดกับสังคม คือ การทำงานได้เร็วและได้งานดี
ประสิทธิภาพขององค์การ คือ การที่องค์การสามารถดำเนินงานต่าง ๆ ตามภารกิจหน้าที่ขององค์การโดยใช้ทรัพยากร ปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงกำลังคน อย่างคุ้มค่าที่สุด มีการสูญเปล่าน้อยที่สุด มีลักษณะของการดำเนินงานไปสู่ผลตามวัตถุประสงค์ได้โดยประหยัดทั้งเวลา ทรัพยากร และกำลังคน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 7s
๑. กลยุทธ์ Strategy ชุดของกิจกรรมต่าง ๆ อันมุ่งจะรักษาความได้เปรียบย่างถาวรในการแข่งขัน
๒. โครงสร้าง Stracture แผนภูมิและข้อมูลประกอบที่แสดงว่าใครรายงานต่อใคร และระบุวิธีการแบ่งงาน และการร่วมมือกัน
๓. ระบบ Systems เน้นกระบวนการต่าง ๆ และการเชื่อมโยงถึงการดำเนินงานแต่ละช่วงเวลา
๔. วิถีปฏิบัติ Style เรื่องที่ผู้บริหารพิจารณาร่วมกันว่าสำคัญในรูปของการใช้เวลาและความสนใจร่วมกัน รวมทั้งวิธีการเชิงพฤติกรรมต่าง ๆ พึงระลึกว่าการกระทำสำคัญกว่าคำพูดเสมอ
๕. บุคลากร Staff การให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาผู้บริหารและการเชื่อมโยงค่านิยมในการทำงานร่วมกันเป็นทีม
๖. ทักษะ Superordinate ค่านิยมที่ยึดถือร่วมกันเพื่อความชัดเจนของจุดมุ่งหมายปลายทางของกิจการ
๗. ค่านิยมร่วม Skills คุณลักษณะที่สะท้อนศักยภาพอันสำคัญที่กิจการหนึ่ง ๆ จะต้องมี
การทำงานเป็นทีม ปัจจุบันการทำงานเป็นคณะหรือการทำงานเป็นทีมมีความจำเป็นมาเพราะงานในปัจจุบันมีความยุ่งยากซับซ้อนมากและมีปริมาณมาก ผู้รับรับบริการมีจำนวนมหาศาล และเป็นผู้บริโภคที่มีความรู้และมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด เครื่องมือและเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและยุ่งยากมากยิ่งขึ้น มีคู่แข่งขันมากขึ้นทุกที การทำงานคนเดียวหรือบริหารงานคนเดียวยากที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้

กลยุทธ์ ๕p
๑. กลยุทธ์คือแผน กิจการทั้งหลายกำหนดกลยุทธ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางหรือเป็นแนวทางการดำเนินงานในอนาคต
๒. กลยุทธ์คือแบบแผนหรือรูปแบบ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแบบแผนด้านพฤติกรรมในการปฏิบัติที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงเวลา
๓. กลยุทธ์คือการกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง เน้นไปที่ความสำคัญของฐานะหรือตำแหน่งของกิจการในสนามการแข่งขัน ดังนั้น สินค้าหรือบริการที่เสนอออกไป จำเป็นต้องเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละตลาด
๔. กลยุทธ์คือทัศนียภาพ เน้นความสำคัญของการพิจารณาสภาพที่แท้จริงภายในองค์การ หรือคุณลักษณะ ที่น่าจะเป็นองค์การ กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ ทัศนียภาพหมายถึงวิธีการดำเนินงานที่ต้องการให้คนในองการณ์ยึดถือร่วมกัน
๕. กลยุทธ์คือกลวิธีในการเดินหมาก เป็นความหมายที่เฉพาะเจาะจงเป็นอย่างยิ่งกล่าวคือในสถานการณ์ที่มีการต่อสู้หรือการแข่งขัน

ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาทีมงานที่มีประสบความสำเร็จหลาย ๆ ทีม เราอาจประมวลลักษณะของทีมงานที่มีประสิทธิภาพได้ดังนี้
๑. จำนวนสมาชิกในทีมงานไม่มากนัก เหมาะสมกับงานและเป้าหมายของงาน ถ้าทีมงานมีจำนวนสมาชิกมากเกินไป ย่อมจะทำให้งานเกิดปัญหามากกว่าเกิดความสำเร็จ
๒. เป้าหมายของทีมงานชัดเจน สมาชิกทุกคนทราบเป้าหมายของทีมงานนั้น ๆ ชัดเจน เป้าหมายของทีมงานควรเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงชัดเจน
๓. สมาชิกทุกคนห่วงใยต่อความสำเร็จของทีมงาน สมาชิกตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ มิใช่ทำงานแบบขอไปทีหรือไม่สนใจต่อความสำเร็จของงาน มีความห่วงใยต่อผลงานของเพื่อนสมาชิก
๔. สมาชิกทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยยึดถือเอางานและเป้าหมายของงานเป็นหลัก ทุกคนกล้าแสดงออก เสนอความคิดเห็นอย่างเสรีเมื่อทีมงานลงมติอย่างไรแล้วก็ยอมรับมตินั้น ๆ ด้วยความเต็มใจ สมาชิกต้องลดอัตตาของตนเองลงบ้าง
๕. มีผู้นำทีมหรือหัวหน้าทีมที่ดี เป็นผู้นำที่มุ่งทำงาน เสียสละเพื่อทีมงานยอมรับความคิดเห็นของสมาชิก และมีภาวะผู้นำที่ดีเป็นตัวอย่างแก่สมาชิกได้
๖. ผลประโยชน์ของสมาชิกชัดเจน บอกได้ว่าเมื่อสมาชิกทำงานตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จและเขาจะได้อะไร
๗. สมาชิกมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ยอมรับความสามารถของเพื่อนสมาชิก เปิดโอกาสให้สมาชิกทำงานที่เมาะสมอย่างเต็มที่
๘. การพัฒนาทีมงาน ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของทีมงานอย่างสม่ำเสมอ

peeoen

จำนวนข้อความ : 5
Join date : 17/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ